โรคหูอื้อหรือมีเสียงในหู หูอื้อ

การดูแลรักษาสุขอนามัยของหู และ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการทางหู เช่น หูอื้อ หรือหูตึง มีเสียงดังในหู มีอาการเวียนศีรษะหรือบ้านหมุน ปวดหู มีน้ำหรือหนองไหลออกจากรูหู คันหู เป็นต้น สามารถทำได้ดังนี้

 

โรคหูอื้อ ฝังเข็ม

– หลีกเลี่ยงการปั่น แคะ ล้าง (ด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดต่างๆ) เพราะอาจไประคายเคือง ทำให้ต่อมสร้างขี้หูทำงานมากขึ้น  ทำให้ขี้หูอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น และการปัน แคะ อาจทำให้เป็นแผล เลือดออก หูชั้นนอกอักเสบหรือเยื่อบุแก้วหูฉีกขาดได้

– ควรระวังไม่ให้น้ำเข้าหู เมื่อน้ำเข้าหู ควรเอียงศีรษะเอาหูข้างนั้นลงต่ำ ดึงใบหูให้กางออกและเฉียงไปทางด้านหลัง ซึ่งจะทำให้น้ำไหลออกมาได้ง่าย

– รีบรักษาเมื่อมีการติดเชื้อในโพรงจมูก เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบ โพรงหลังจมูก โพรงไซนัส (ไซนัสอักเสบ) หรือมีอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหูได้

– ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง โดยเฉพาะเอามือบีบจมูก แล้วสั่งน้ำมูก เพราะจะทำให้เชื้อโรคในช่องจมูกและไซนัสเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่าย

– หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณหูและบริเวณใกล้เคียง เช่น การถูกตบหู เพราะอาจทำให้เยื่อบุแก้วหูทะลุและฉีกขาด เป็นต้น

– หากมีอาการทางหู ควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ดำน้ำ เดินทางโดยเครื่องบิน เดินทางขึ้นที่สูงหรือต่ำอย่างรวดเร็ว (เช่น ใช้ลิฟต์) เพราะอาจทำให้มีอาการที่หูเป็นมากขึ้นได้

– พยายามออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน

– ลดความเครียด วิตกกังวล

– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

– ควบคุมโรคอื่นๆที่เป็น (ถ้ามี) ให้ดี โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือด เป็นต้น

ส่วนมากแล้วอาการหูอื้อจะไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไร เป็นสักพักก็อาจหายไปได้เองในบางกรณี แต่สำหรับคนที่มีอาการทางหูผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม

การแพทย์แผนจีน  พบว่า มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการ โรคหูอื้อหรืออาการมีเสียงในหู  5 ปัจจัยหลักดังนี้

1) 风热侵袭 ลมร้อน

อาการ >> หูอื้อหรือมีเสียงในหูจะเกิดแบบเฉียบพลัน โดยที่อาการไม่ได้หนักมาก เสียงที่เกิดในหู จะเป็นเสียงต่ำๆ อื้ออึง คนไข้อาจรู้สึกตึงๆ หรือเหมือนว่ามีอะไรมาอุดอยู่ข้างใน  โดยจะพบอาการของโรคหวัดร่วมด้วย เช่นคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เป็นต้น

หากตรวจชีพจร จะพบชีพจรลอยเร็ว, ลิ้นแดงซีด ฝ้าขาวบาง

วิธีรักษา  疏风清热    用方 银翘散加减

ฝังเข็ม百会,印堂,翳风,耳门,听宫,听会,合谷,侠溪,风池、外关穴

 

2) 肝火上扰 ไฟตับรบกวน

ในประเภทนี้อาการจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และมีอาการค่อนข้างหนัก โดยจะมีเสียงในหูที่ดังกว่าประเภทแรก และอาการจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ โดยอาการจะเกิดหรือเป็นมากขึ้นหลังจากมีอารมณ์โมโหหรือเครียดมาก

และอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยเช่น ปากขม, หงุดหงิด, มึนหรือเวียนหัว, ปวดหัว, ใจร้อนโมโหง่าย, นอนไม่หลับ เป็นต้น

ตรวจร่างกายจะพบ ลิ้นสีแดงฝ้าเหลือง, ชีพจรตึงเร็ว

วิธีรักษา 清肝降火  用方 龙胆泻肝汤加减

ฝังเข็ม百会,印堂,翳风,耳门,听宫,听会,合谷,侠溪,中渚,太冲,行间,外关,凤池

百会,印堂,翳风,耳门,听宫,听会,合谷,侠溪

 

3) 痰浊上壅型 เสมหะอุดกั้นช่วงบน

ประเภทนี้ จะมีอาการของโรคที่สะสมเป็นระยะเวลานาน หูอื้อ, วิงเวียนศีรษะ, รู้สึกหนักหัว, อึนๆตึงๆในศีระษะ, เหมือนข้างในหูบวมแน่น, รู้สึกได้ชัดเจนว่าเหมือนในหูมีการอุดตัน อาจพบอาการร่วม ดังนี้ แน่นหน้าอก, ไม่อยากอาหาร ,

ตรวจพบ ลิ้นจะหนาและอ้วน ขอบลิ้นมีรอยฟัน ฝ้าหนาข้น ชีพจรตึงลื่นไหล

วิธีรักษา 化痰降浊,和胃开窍  用方 清任通窍活血汤,二陈汤,温胆汤等 加减

ฝังเข็ม 百会,印堂,翳风,耳门,听宫,听会,合谷,丰隆,内庭,外关,足三里

 

4) 肝肾不足型 ตับและไตพร่อง

ประวัติการณ์ของโรคประเภทนี้มักพบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ โดยมีอาการเรื้อรัง มีเสียงในหูเหมือนจักจั่นร้องระงม แต่เสียงจะไม่ดังระงมมาก   จะพบอาการเหล่านี้ร่วม เช่น เมื่อยเอว เข่าอ่อน ตาพร่ามัว ตาแห้ง และอาการทางโรคไตอื่นๆ โดยอาการจะเป็นๆหายๆ ไม่แสดงออกแบบชัดเจนสักทีเดียว

ตรวจลิ้นพบ ลิ้นแดง ฝ้าน้อย ชีพจรอ่อนเล็ก

บางกรณีอาจพบอาการร้อนในแสดงร่วมด้วย เช่น มีแผลในปาก ขี้หงุดหงิด นอนไม่หลับ ลิ้นสีแดง, ชีพจรเต้นเร็ว ซึ่งอาการเหล่านี้ก็สามารถเกิดในคนหมู่สาวได้ด้วย

วิธีรักษา  补肾填精  ใช้ยา耳聋左磁丸,杞菊地黄丸,六味地黄汤等

ฝังเข็ม 百会,印堂,翳风,耳门,听宫,听会,合谷,肾俞,肝俞,关元,三阴交,腰眼

 

5) 脾胃虚弱型 ม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ

มักพบวผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เวียนศีรษะ หากทำงานหนักอาการจะเป็นหนักขึ้น เบื่ออาหาร

ตรวจพบลิ้นสีซีด ฝ้าขาว ชีพจรอ่อน

วิธีรักษา健脾益气,升阳通窍 用方 补中益气汤、参苓白术散、八珍汤等。

ฝังเข็ม 百会,印堂,翳风,耳门,听宫,听会,合谷,脾俞,气海,足三里

ชาบำบัด ใช้  参须 京菖茶

เข็มหู 耳针 :皮质下,内分泌,肝,肾

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ผู้ใดที่มีปัญหาเกี่ยวกับหู ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง มีเสียงในหู หูฟังไม่ชัด ปวดหู หรือมีหนองออกมาจากรูหู รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน

ด้วยความปรารถนาดีจาก แมนดาริน คลินิก

บทความโดย

พจ.กฤติภร ภูรีนนทกิจ

สงวนลิขสิทธิ์โดย แมนดารินคลินิก

ต้องการพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาหรือแนวทางการรักษา ติดต่อนัดแพทย์ หรือเข้าพบแพทย์ได้ที่

Contact us , Map