โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy)

โรคอัมพาตใบหน้าสังเกตได้จากผู้ป่วยปากและตาเบี้ยวไปซีกใดซีกหนึ่งเป็นอาการแสดงหลักของโรค นอกจากนี้ยงมีอาการร่วมต่างๆได้แก่ ด้านที่ป่วยหลับตาไม่สนิท น้าตาไหล แสบเคืองตา เมื่อดื่มน้ำ อาจมีน้ำไหลออกมุมปาก รอยยักคิ้วไม่ชัดเจน เส้นแบ่งกลางเหนือริมฝี ปากบนไม่ชัดเจน เป็นต้น โรคอัมพาตใบหน้าสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัยและทุกฤดูกาลโดยเฉพาะหน้าหนาว มักพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง การเกิดโรคฉับพลัน

กลไกการเกิดโรค

ตามหลักแพทย์จีนกล่าวไว้ว่าสาเหตุการเกิดส่วนใหญ่มาจากพลังพื้นฐานร่างกายอ่อนพร่องเส้นลมปราณ ขาดการหล่อเลี้ยง เมื่อรวมกับปัจจัยลมหนาวหรือลมร้อน มากระทบจึงทำให้เส้นลมปราณ เซ่าหยาง เส้นลมปราณหยางหมิงเกิดการติดขัด ทำให้พลังและการไหลเวียนของบริเวณนั้นๆ ไม่คล่องตัว ส่งผลให้การ ทำงานของเส้นปราณรวมไปถึงเส้นเอ็นขาดการหล่อเลี้ยงและทางานผิดปกติ  ก่อเกิดเป็นโรคอัมพาตใบหน้า

วิธีรักษา

โดยตามศาสตร์ แพทย์แผนจีนได้แบ่งกลุ่มพิกัดของการเกิดโรคทั้งหมดออกเป็น 4 กลุ่มอาการดังนี้

1)กลุ่มพิกัดโรคลมหนาวอุดกลั้นเส้นลมปราณ

อาการ ปากและตาเบี้ยวอย่างเฉียบพลัน มี อาการกลัวหนาวหรือเป็นไข้ มีน้ามูกเหลวใส และหากใช้มือ

สัมผัสบริเวณใบหน้าพบว่าบริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงหรือมีประวัติการกระทบความ

เย็นบริเวณใบหน้า ฝ้าลิ้นบางขาว ชีพจรลอย

หลักการรักษา       ขจัดลมกระจายความหนาว ทะลวงเส้นลมปราณ

การฝังเข็ม     จุดหลักทั่วร่างกายได้แก่ เหอกู่,ไท่ชง,หยางไป๋,ซื่อไป๋,เจี๋ยเชอ,ตี้ชาง โดยแพทย์จะเลือกใช้จุด

หลักตามบริเวณที่ผู้ป่วยมีอาการร่วมกับจุดที่เพิ่มตามพิกัดโรคคือ เฟิงเหมิน และเฟ่ยซู โดยใช้วิธีระบาย

การใช้ยาจีน เลือกใช้ตำรับหมาหวงฟู่ จึซี่ซินทัง (麻黄附子细辛汤)

2)กลุ่มพิกัดโรคลมร้อนอุดกลั้นเส้นลมปราณ

อาการ ปากและตาเบี้ยวอย่างเฉียบพลัน มีอาการกลัวหนาว มีไข้ ปวดศีรษะ ปากคอแห้งระคายเคืองตาหรือ

อาจมีอาการปวดบริเวณหลังหูร่วมด้วย ปลายลิ้นแดง ฝ้าบางเหลือง ชีพจรเร็ว

หลักการรักษา ขจัดลมระบายความร้อน ทะลวงเส้นลมปราณ

การฝังเข็ม จุดหลักทั่วร่างกายได้แก่ เหอกู่,ไท่ชง,หยางไป๋ ,ซื่อไป๋,เจี๋ยเชอ,ตี้ชาง โดยแพทย์จะเลือกใช้จุดหลัก

ตามบริเวณที่ผู้ป่วยมีอาการร่วมกับจุดที่เพิ่มตามพิกัดโรคคือ เฟิงเหมิ น,เฟ่ยซู ,ต้าจุยและฉวู่ฉือ โดยใช้วิธี

ระบาย

การใช้ยาจีน เลือกใช้ตารับอิ๋นเชี่ยวส่ าน (银翘散)

3)กลุ่มพิกดโรคลมเสมหะอุดกลั้นเส้นลมปราณ

อาการ ปากและตาเบี้ยว ใบหน้ารู้สึกตึงและมีอาการชา ศีรษะหนัก ร่างกายรู้สึกหนักไม่มีแรงยกแขนขา รู้สึก

แน่นบริเวณหน้าอกและท้อง ฝ้าลิ้นหนาเหนียว ชีพจรตึงลื่น

หลักการรักษา ขจัดลมสลายเสมหะ ทะลวงเส้นลมปราณแก้อาการติดขัด

การฝังเข็ม จุดหลักทั่วร่างกายได้แก่ เหอกู่,ไท่ชง,หยางไป๋,สื่ อไป๋,เจี๋ยเชอ,ตี้ชาง โดยแพทย์จะเลือกใช้จุดหลัก

ตามบริเวณที่ผู้ป่วยมีอาการร่วมกับจุดที่เพิ่มตามพิกัดโรคคือ เฟิงเหมิน,เฟ่ยซู ,เฟิงฉือและเฟิงหลง โดยใช้วิธี

กึ่งบำรุงกึ่งระบาย

การใช้ยาจีน เลือกใช้ตารับเชียนเจิงส่าน(牵正散)

4)กลุ่มพิกัดโรคพลังและเลือดพร่อง

อาการ ปากและตาเบี้ยวเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าแข็งเสียความยืดหยุ่น บางครั้งอาจมีกล้ามเนื้อ กระตุก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย พูดน้อย ใบหน้าซีดเสียว ลิ้นซี ด ฝ้าขาว ชีพจรจมลอยและไม่มีแรง

หลักการรักษา บำรุงพลังและเลือด กระตุ้นการไหลเวียนเลือดทะลวงเส้นลมปราณ

การฝังเข็ม จุดหลักทั่วร่างกายได้แก่ เหอกู่,ไท่ชง,หยางไป๋,ซื่อไป๋,เจี๋ยเชอ,ตี้ชาง โดยแพทย์จะเลือกใช้จุดหลัก

ตามบริเวณที่ผู้ป่วยมีอาการร่วมกับจุดที่เพิ่มตามพิกัดโรคคือ ผีซู,เว่ยซู ,จู๋ซานหลี่และซานอินเจียว โดยใช้วิธี

บำรุง

การใช้ยาจีน เลือกใช้ตารับอี้ชี่หยางเสว่ทาง(益气养血汤)

การครอบแก้ว

แพทย์อาจจะใช้การครอบแก้วบริเวณใบหน้า ตามจุดที่มีอาการเพื่อการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

ขจัดปัจจัยก่อโรคจากภายนอก อบอุ่นเส้นลมปราณและผ่อนคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

การนวดกดจุด

แพทย์ใช้วิธีนวดกดจุดเพื่อช่วยผ่อนคลายเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า กระตุนการไหลเวียน

เลือดและสลายลิ่มเลือดคั่งค้าง เลือกกดจุดอิ่งถาง,ชิงหมิง,หยางไป๋ ,ไท่หยาง,อิ๋งเซี ยง,เสี้ ยกวาน,เจี๋ยเชอ,

ตี้ชาง  เฟิงฉือและเหอกู่ใช้วิธีกดจุดคือ 按、揉、擦 และ 拿

การฝังเข็มหู

เลือกใช้จุดเมี่ยนเจี๋ย , โข่ว , กาน , เสินเหมิน และมู่

การดูแลร่างกายป้องกันการเกิดโรคและโภชนาบำบัด

– หลีกเลี่ยงการปะทะลมหรือความเย็นบริเวณใบหน้า หลังการออกกาลังกายเสร็จไม่ควรตากแอร์ หรือเป่า

พัดลมในทันที

– หมั่นออกกาลังกายหรือเล่นโยคะเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

– รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ด หวานมัน ของเย็น รับประทานอาหารจำพวก

ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ถั่ว แดงถั่ว ด า อัลมอนต์ จมูกข้าวสาลี งาดำ ไข่แดง ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ

– พักผ่อนให้เพียงพอและทาจิตใจให้ผอนคลาย

บทความโดย พจ.ปีติชา อะมริต

สงวนลิขสิทธิ์โดย แมนดารินคลินิก

ต้องการพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาหรือแนวทางการรักษา ติดต่อนัดแพทย์ หรือเข้าพบแพทย์ได้ที่

https://www.mandarin-clinic.com/contact-2/