5 อวัยวะภายในหลักทางแพทย์จีน

ทางการแพทย์แผนจีน มีทฤษฎีความสมดุลของหยินหยางภายในร่างกาย ซึ่งมาคู่กับการดูแลสมดุลของอวัยวะหลักๆทั้ง5 ของร่างกาย หากอวัยวะทั้ง5 ทำงานอย่างสมดุลแข็งแรงปกติ เราก็จะไม่มีอาการเจ็บป่วย

หัวใจ

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน หัวใจมีหน้าที่ กำหนดชีพจร และ ควบคุมระบบประสาทความนึกคิดและจิตใจ

ควบคุมการไหลเวียนเลือด หากเลือดในหัวใจพร่อง(น้องลง) จะมีอาการใจสั่น หน้าซีด เหนื่อย จะเป็นลม

หากเลือดในหัวใจอุดตัน จะมีอาการแน่นหน้าอก สีหน้าและริมฝีปากมีสีม่วงคล้ำ

เกี่ยวข้องกับจิตใจ ความนึกคิด หากประสาทของเราไม่สงบ เราจะนอนไม่หลับ ฝันบ่อย ตื่นนอนกลางดึก สมองไม่แล่น

ตับ

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ตับมีหน้าที่ปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะทั่วร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือด รวมถึงอารมณ์

ปรับสมดุลเลือด หากทำงานผิดปกติ จะส่งผลถึงการย่อยอาหาร ระบบเลือด ประจำเดือน และส่งผลถึงอารมณ์หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย

หน้าที่สะสมเลือด ปรับปริมาณการไหลเวียนเลือด หากตับไม่สะสมเลือด จะทำให้เลือดออกมากผิดปกติ

หากเลือดในตับน้อย จะเวียนหัว ตาลาย มือเท้าชา แขนขาอ่อนแรง ประจำเดือนมาน้อย

 13177282_1121873201166594_2121520480651941523_n

ไต

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ไตมีหน้าที่เก็บพลังงานสารจำเป็นของชีวิต และควบคุมสมดุลระบบน้ำในร่างกาย

เก็บพลังงานสารจำเป็นของชีวิต เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและฮอร์โมนควบคุมระบบต่างๆ การสืบพันธุ์ หากทำงานผิดปกติ จะพบเด็กทารกเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เด็กไม่เป็นหนุ่มเป็นสาว ไม่มีความต้องการทางเพศ ร่างกายไม่ผลิตอสุจิ

ควบคุมสมดุลระบบน้ำในร่างกาย หากทำงานผิดปกติจะพบร่างกายมีปัสสาวะน้อยหรือมากเกินไป ปัสสาวะถี่ บวมน้ำ

 

 

 

ปอด

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ปอดมีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของลมปราณ และ ควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย

ควบคุมการไหลเวียนของลมปราณ ดังนั้นจะแสดงออกทางปอดได้บ่อยเพราะเป็นอวัยวะที่ควบคุมลมหายใจ หากผิดปกติจะพบอาการ ไอ หอบ เหนื่อย พูดไม่มีเสียง

ควบคุมการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย ดังนั้นจะเกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญน้ำเช่น การขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ไต หากทำงานไม่ดีจะแสดงออกคือ เหงื่อออกน้อย บวมน้ำ ปัสสาวะบ่อย

 

ม้าม(กระเพาะ)

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ม้ามมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยและดูดซึมสารอาหาร แร่ธาตุและน้ำ และ ควบคุมลมปราณที่กระจายขึ้นช่วงบนของร่างกาย

ระบบย่อยและดูดซึมสารอาหาร แร่ธาตุและน้ำ หากทำงานผิดปกติ จะท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง

ควบคุมลมปราณที่กระจายขึ้นช่วงบนของร่างกาย ม้ามจะส่งลำเลียงสารที่เป็นของเหลวไปสู่ระบบหัวใจและปอด เพื่อส่งสารอาหารไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย อีกทั้งยังเป็นอวัยวะที่ดึงรั้งให้อวัยวะอื่นๆอยู่ในตำแหน่งปกติ หากทำหน้าที่ผิดปกติ จะแสดงอาการ หน้ามืด ตาลาย เวียนหัว ท้องอืด ท้องเสีย และหากอาการเป็นมาก ส่งผลให้มดลูกหย่อน และทวารหนักโผล่(ริดสีดวง)

 

ข้อมูลและภาพโดย หมอออม แพทย์จีนปักกิ่ง

#เพจหมอออมแพทย์จีนปักกิ่ง

 

ฝากติดตาม เพจหมอออม แพทย์จีนปักกิ่ง 北京中医药大学 สาระดีๆทางการแพทย์จีน โดย แพทย์จีน ธนินท์ธร อนันต์สรรักษ์ แพทยศาสตร์บัณฑิต เอกการฝังเข็ม รมยา ทุยหนา จากมหาวิทยาลัยแพทย์จีนปักกิ่งอันดับ1 ของประเทศจีน เพื่อการดูแลสุขภาพของตัวท่านเองและครอบครัว สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง เป็นองค์ความรู้ที่มีมาตั้งแต่ 5,000ปี ประกอบไปด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแพทย์จีน หลักการทางการแพทย์จีน โภชนาอาหารบำรุงร่างกายตามศาสตร์การแพทย์จีน การฝังเข็ม ครอบแก้ว กวาซา การนวดทุยหนาในเด็กและผู้ใหญ่ การใช้ยาสมุนไพรจีนบำรุงร่างกาย และอาหารเครื่องดื่มสุขภาพ

 

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคนรักสุขภาพวิถีธรรมชาติศาสตร์จีนกันนะคะ กดที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ

เพียงคลิกเบาๆ1ครั้งค่ะ^__^

https://www.facebook.com/thaninthorn.orm/