การฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นศาสตร์แห่งการรักษาโรค และบำรุงสุขภาพแนวหนึ่งของการแพทย์แผนโบราณของจีน ซึ่งมีประวัติการรักษาด้วยวิธีนี้มานานกว่า 5000 ปี โดยใช้ควบคู่กับการรักษาโรคด้วยการนวด และการใช้สมุนไพร ปัจจุบันการรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศจีน ประเทศใกล้เคียงในเอเชีย รวมทั้งในยุโรป และอเมริกา ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ยอมรับว่าการฝังเข็มเป็นการรักษาโรควิธีหนึ่ง สำหรับประเทศไทยมีการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม โดยแพทย์แผนปัจจุบัน และในโรงเรียนแพทย์ของรัฐมานานกว่า 10 ปีแล้ว

%e0%b8%ab%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9d%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%87%e0%b8%a12

หลักการรักษาโรคโดยการฝังเข็มมาจากการค้นพบว่า ใต้ผิวหนังของร่างกายมนุษย์มีเส้นทางเดินของพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งร่างกายจะต้องใช้ในขบวนการทำงานทุกชนิดทางจีนเรียกพลังงานนี้ว่า ” ชี่ ” ซึ่งตรงกับทางอินเดียเรียกว่า ” ปราณ ” และทางตะวันตกเรียกว่า ” พลังชีวิต ” ในสภาพร่างกายปกติ ” ชี่ ” จะไหลเวียนสม่ำเสมอเป็นทิศทางที่แน่นอน และเป็นพลังผลักดันให้เลือดนำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายด้วยเส้นทางนี้จะติดต่อโยงใยเนื้อเยื่อทุกส่วนระหว่างภายนอกกับอวัยวะภายใน เมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นส่วนอวัยวะภายนอก หรือเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายใน ก็ย่อมทำให้การไหลเวียนของ ” ชี่ ” ผิดปกติไปด้วย แพทย์จีนโบราณได้ค้นพบว่า วิธีที่สามารถปรับการไหลเวียนของ ” ชี่ ” ให้กลับมาปกติได้โดยการกระตุ้นตามเส้นทางเดินของ ” ชี่ ” บริเวณใต้ผิวหนัง จึงเกิดทฤษฎีการฝังเข็มขึ้น สำหรับการแพทย์แผนปัจจุบันได้ทำการศึกษาแล้วพบว่าการฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารชนิดหนึ่ง เรียกว่า เอนดอร์ฟิน [Endophin] ซึ่งจะช่วยระงับปวด และยังมีสารบางอย่าง [Autocoid] ไปช่วยลดการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณที่มีการอักเสบนั้นๆด้วย

จุดมุ่งหมายของการฝังเข็มมี 2 ประการ คือ

1. ปรับสมดุลของร่างกายเพื่อให้อวัยวะ ระบบต่างๆกลับมาทำงานเป็นปกติ

2. เพื่อระงับความเจ็บปวดใช้ในการรักษาโรคปวดต่างๆ หรือใช้ในการระงับปวดระหว่างผ่าตัด

%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%ab%e0%b8%ad%e0%b8%a1

โรคที่รักษาด้วยการฝังเข็ม

ปัจจุบันใช้การฝังเข็มเป็นการแพทย์ทางเลือกสาขาหนึ่ง เราสามารถแบ่งโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็มเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. โรคทางอายุรกรรม เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ หอบหืด ปวดกระเพาะ ลมแดด ตับอักเสบ ลำไส้อักเสบ ความดันโลหิตสูง คอเคล็ด ข้ออักเสบ ภูมิแพ้ ลมพิษ ช็อค มาลาเรีย

2. โรคทางศัลยกรรม เช่น ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดข้อศอก ปวดเข่า การอักเสบของเยื่ยเอ็นที่มือ โรคของทางเดินน้ำดี ไส้ติ่งอักเสบ คอพอก ริดสีดวงทวาร

3. โรคทางสูตินรีเวช เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มีประจำเดือน มดลูกหย่อน น้ำนมน้อย ไม่มีน้ำนม ทารกในครรภ์ท่าผิดปกติ แพ้ท้อง คลอดช้า

4. โรคเด็ก เช่น ไอกรน โรคขาดอาหารในเด็ก ลมชัก สมองพิการ เด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กปัสสาวะรดที่นอน คางทูม โปลิโอ

5. โรคของอวัยวะรับความรู้สึก เช่น ตาแดง สายตาสั้น ประสาทตาเสื่อม คออักเสบ ไซนัสอักเสบ ปวดฟัน หูอื้อ มีเสียงในหู

6. โรคเกี่ยวกับประสาท และจิตใจ เช่น อัมพาต ลมบ้าหมู ปวดศีรษะ อัมพาตใบหน้า ปวดประสาทใบหน้า โรคจิตประสาท เครียดนอนไม่หลับ ฮีสทีเรีย

7. โรคของทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ปัสสาวะไหลไม่รู้ตัว ปัสสาวะไม่ออก กามเคลื่อน กามตายด้าน ทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ

8. ขอบเขตใหม่ของการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม ..การรักษาผู้ป่วยติดยาเสพติด ติดบุหรี่ ติดเหล้า….การฝังเข็มลดความอ้วน และเสริมความงาม

24ed232a0395878a05cc6853cd2d4d14

ข้อห้ามในการฝังเข็ม

1. โรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด

2. โรคที่ต้องผ่าตัดอย่างแน่นอน

3. โรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน

ผลข้างเคียงของการฝังเข็ม

1. เมาเข็ม เกิดจาก ผู้ป่วยตื่นกลัว หิวจัด อ่อนเพลียมาก จะมีอาการวิงเวียน ใจสั่น หน้ามืดคลื่นไส้ หน้าซีด การแก้ไข ดึงเข็มออกทันที ให้นอนราบศีรษะต่ำให้เครื่องดื่มอุ่นๆ

2. เข็มหนืด เข็มงอ เกิดจาก ผู้ป่วยเกร็งกล้ามเนื้อ หรือเปลี่ยนอิริยาบทฉับพลัน ขณะที่เข็มยังคาอยู่ การแก้ไข นวดรอบๆ จุดที่ฝังเข็มแล้วดึงเข็มออก ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนกลับมาอยู่ในอิริยาบทเดิมตอนเริ่มฝังเข็ม

3. เข็มหัก เกิดจากผู้ป่วยเปลี่ยนอิริยาบทฉับพลันหรือดึงเข็มออกเร็วขณะเข็มงอ การแก้ไข นวดรอบๆ จุดที่ฝังเข็มแล้วดึงเข็มออก ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนกลับมาอยู่ในอิริยาบทเดิมตอนเริ่มฝังเข็ม ถ้ายังเอาออกไม่ได้ให้ผ่าเข็มออก

4. มีก้อนเลือดขึ้นมา บวมเขียวหลังเอาเข็มออก การแก้ไข ประคบเย็นทันที หลังจากนั้น 2 ชั่วโมง ประคบอุ่น

5. อาการข้างเคียงอื่นๆ หลังจากเอาเข็มออก เช่น เจ็บ แน่น ชา การแก้ไข นวดคลึงเบาๆ ถ้าไม่ดีขึ้นให้รมยาด้วยจุฬาลำภา

6. เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน เช่น เกิดลมรั่วในปอด แทงทะลุลำไส้ การแก้ไข รักษาอวัยวะภายในที่เป็นอันตรายนั้นๆ

7. การติดเชื้อ เกิดจากไม่ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อที่ผิวหนังก่อนแทงเข็ม หรือแทงเข็มบริเวณที่มีการอักเสบ การแก้ไข รักษาด้วยการทำแผลควบคู่กับยาปฏิชีวนะ

ดารามาแมนดาริน_8049

การเตรียมตัวก่อนการมาฝังเข็ม

1. รับประทานอาหารตามปกติ ก่อนการฝังเข็มเสมอเพราะถ้าอ่อนเพลีย หิว จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย

2. พักผ่อน นอนหลับ ให้พอเพียง

3. ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่รัดรูป แน่นเกินไป

4. รับทราบข้อห้าม และต้องไม่เป็นผู้ป่วยที่ต้องห้ามในการฝังเข็ม

5. ขณะรับการฝังเข็ม ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ปวดมากขึ้น หน้ามืดเป็นลม ต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

6. ผู้ป่วยเด็ก ให้สระผมให้สะอาดด้วย

12079463_1006171619403420_4605015997217087931_n

 

ข้อบ่งชี้ของเวชกรรมฝังเข็มเสนอโดยองค์การอนามัยโลกปี ค.ศ. 1996

ก ) กลุ่มที่มีการวิจัยยืนยันผลแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบโดยเลือกตัวอย่าง
แบบสุ่มเลือก (controlled, randommized clinical trials )

   Alcohol addiction – โรคติดสุรา
Allergic rhinitis – โรคภูมิแพ้จมูก
Athletics syndrome – กลุ่มอาการปวดจากการเล่นกีฬา
Bell’s palsy – อัมพาตใบหน้า
Biliary colic – อาการปวดท้องจากโรคทางเดินน้ำดี
Bronchial asthma – โรคหอบหืด
Cardiac neurosis – โรคประสาทกังวลที่มีอาการคล้ายโรคหัวใจ
Cervical spondylitis – กระดูกต้นคออักเสบ
Depression – โรคซึมเศร้า
Drug addiction – โรคติดยาเสพติด
Dysmenorrhoea – ปวดประจำเดือน
Headache – ปวดศีรษะ
Hemiplegia & other postapoplectic sequelae อัมพาตครึ่งซีกและความพิการอื่นๆ
Herpes zoster – งูสวัด
Hypertension – ความดันโลหิตสูง
Primary hypotension – ความดันโลหิตต่ำแบบปฐมภูมิ
Impotence -สมรรถภาพทางเพศหย่อน (defective ejaculation) (ภาวะหลั่งน้ำอสุจิผิดปกติ)
Induction of labour – กระตุ้นคลอด
Insomnia – นอนไม่หลับ
Leucopenia – ภาวะเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ
Lumbago – ปวดบั้นเอว
Migraine – ไมเกรน
Morning sickness – อาการแพ้ท้อง
Nausea & vomiting – คลื่นไส้อาเจียน
Periarthritis of shoulder – ปวดไหล่
Postoperative pain – ปวดจากการผ่าตัด
Premenstrual tension – ปวดท้องก่อนมีประจำเดือน
Radicular pain syndrome – ปวดรากเส้นประสาทสันหลังถูกกด
Renal colic – ปวดนิ่วในไต
Rheumatoid arthritis – ข้ออักเสบรูมาตอยด์
Sprains & strains – ปวดกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอก
TMJ dysfunction – ปวดขากรรไกร
Tension headache – ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว
Tobacco addiction – ติดบุหรี่
Trigeminal neuralgia – ปวดเส้นประสาทใบหน้าไตรเจมินัล    Urinary calculus – นิ่วทางเดินปัสสาวะ

ข ) กลุ่มที่มีการวิจัยยืนยันผลแบบมีกลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบแต่ไม่ได้
เลือกตัวอย่างแบบสุ่มเลือก ( controlled ,nonrandomizied clinical trials )

   Acute tonsillitis , Pharyngitis – ต่อมทอนซิลอักเสบ , คออักเสบ
Laryngitis – กล่องเสียง อักเสบเฉียบพลัน
Back pain – ปวดหลัง
Biliary ascariasis – พยาธิไส้เดือนอุดตันทางเดินท่อน้ำดี
Chronic pharyngitis – คออักเสบเรื้อรัง
Correction of abnormal fetus position – การแก้ไขภาวะทารกในครรภ์อยู่ผิดท่า
Enuresis in children – ภาวะปัสสาวะรดที่นอนของเด็ก
Epicondylitis – ปุ่มกระดูกบริเวณข้อศอกอักเสบ
Gallstones – นิ่วถุงน้ำดี
Irritable bowel syndrome – ภาวะท้องเสียจากลำไส้เคลื่อนไหวเร็วเกิน
Myofasciitis – ปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด
Myopia in children – สายตาสั้นในเด็ก
Simple obesity – โรคอ้วน
Pain after tonsillectomy – อาการเจ็บคอภายหลังผ่าตัดต่อมทอนซิล
Schizophrenia – โรคจิตเภท

ค ) กลุ่มที่มีการวิจัยยืนยันผล แต่ไม่มีกลุ่มศึกษาเปรียบเทียบ
   Constipation – ท้องผูก
Defective lactation – น้ำนมน้อย
Diarrhea – ท้องร่วง
Female infertility – ภาวะมีบุตรยากในุฝ่ายหญิง
Gastroptosis – กระเพาะอาหารหย่อน
Hiccough – ภาวะสะอึก
Incontinence of urine – การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
Male infertility (azoospermia) -ภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชาย(น้ำกามขาดอสุจิ )
Pain during childbirth – ภาวะปวดขณะคลอดบุตร
Retention of urine – ปัสสาวะคั่ง
Sinusitis – ไซนัสโพรงจมูกอักเสบ

  WHO consultation on acupuncture, Milan, Italy October 28 -November 1, 1996

logo-who