มุมมองการรักษาอาการปวดศีรษะด้วยแพทย์แผนจีน

ปวดศีรษะ คืออาการที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกปวดบริเวณศีรษะเป็นหลัก พบได้ในคนไข้ทุกๆกลุ่ม มีอาการแสดงทั้งในระยะเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง

headache_development

แพทย์จีนมองว่าสาเหตุหลักของอาการปวดศีรษะมาจาก ‘ลม’ ที่เป็นปัจจัยการเกิดโรคภายนอกมากระทบร่างกาย รวมไปถึงอารมณ์ อาหารการกิน และความพร่องของร่างกายผู้ป่วย ล้วนเป็นปัจจัยเสริมให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะทั้งสิ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ เลือดและลมปราณพร่องไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือในบางกรณีเกิดการอุดตันของเส้นเลือด เส้นลมปราณที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงสมอง จึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ นั่นเอง

headache

แพทย์แผนปัจจุบัน แบ่งการปวดศีรษะตามสาเหตุออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ อาการปวดศีรษะปฐมภูมิ ซึ่งประกอบด้วย โรคปวดศีรษะไมเกรน โรคปวดศีรษะจากความเครียด ปวดศีรษะคลัสเตอร์ และอาการปวดศีรษะทุติยภูมิ ประกอบด้วย อาการปวดศีรษะจากโรคอื่นๆเป็นสาเหตุ เช่น ปวดศีรษะจากการติดเชื้อ ปวดศีรษะจากภาวะความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะจากโรคเนื้องอกสมอง ปวดศีรษะจากมะเร็งสมอง ปวดศีรษะจากสายตาที่ผิดปกติ ปวดศีรษะจากโรคทางจิตเวช และ ปวดศีรษะจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

why-mobile-advertising-is-such-a-headache-for-marketers-de93cb4e92

การวินิจฉัยอาการปวดศีรษะโดยแพทย์แผนจีนนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน โดย

1) การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการตามตำแหน่งที่เกิดบนเส้นลมปราณ

– เส้นลมปราณหยางหมิง ตำแหน่งปวดบริเวณ หน้าผาก คิ้ว ดั้งจมูก

– เส้นลมปราณซ่าวหยาง ตำแหน่งปวดบริเวณด้านข้างของศีรษะ มักพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง

– เส้นลมปราณไท่หยาง ตำแหน่งปวดบริเวณศีรษะด้านหลังช่วงที่ใช้หนุนหมอน หรือปวดลามลงมาจนถึงบริเวณท้ายทอย

– เส้นลมปราณเจว๋อิน ตำแหน่งปวดบริเวณ กระหม่อม หรือปวดลามมาถึงลูกตา

headache-girl

2) การวินิจฉัยแยกกลุ่มอาการตามปัจจัยภายในหรือภายนอก

– อาการปวดศีรษะจากปัจจัยภายนอก :อาการปวดมักเกิดขึ้นรวดเร็ว ปวดลามลงไปถึง คอ ไหล่ หลัง ปวดแบบไม่หยุด ค่อนข้างมีสาเหตุการเกิดที่ชัดเจน เช่น คนไข้ไปตากลม ตากฝน ตากแดดมา สามารถแยกกลุ่มอาการปวดศีรษะจากภายนอกออกเป็นปัจจัยจาก ลมเย็น ลมร้อน ลมชื้น ได้เป็นต้น

– อาการปวดศีรษะจากปัจจัยภายในร่างกาย :อาการปวดมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ปวดศีรษะเป็นๆหายๆ ติดต่อกัน ส่วนมากมักพบอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย เมื่อผู้ป่วยทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือ อารมณ์แปรปรวน จะกระตุ้นให้เกิดอาการ หรือกระตุ้นให้อาการที่เป็นอยู่หนักขึ้น แยกกลุ่มอาการปวดศีรษะจากปัจจัยภายในเป็น ภาวะหยางของตับมากเกินไป ภาวะสารน้ำของไตไม่เพียงพอ ภาวะเลือดและลมปราณพร่อง และภาวะของเส้นเลือดและเส้นลมปราณในสมองอุดตัน ได้เป็นต้น

aid3846-728px-Relieve-a-Tension-Headache-Step-3-Version-2

แนวทางการรักษาอาการปวดศีรษะด้วยการแพทย์แผนจีน สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม และทานยาจีน โดยจะเน้นการรักษาเพื่อปรับการไหลเวียนของระบบเลือดและลมปราณให้ไหลเวียนได้สะดวก และระงับอาการปวดเป็นหลัก

รวมไปถึงการเลือกจ่ายยาสมุนไพร และเลือกจุดฝังเข็ม ที่ออกฤทธิ์การรักษา ขับปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดหัวภายนอก และเชื่อมโยงผ่านระบบเส้นลมปราณในร่างกาย ให้ออกฤทธิ์ไปยังตำแหน่งที่ปวดศีรษะ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการรักษา โดยการปล่อยเลือด การฝังเข็มหรือติดหมุดที่ใบหู ฯลฯตามหลักการของแพทย์แผนจีนได้อีกด้วย

12-Front_Meridians

การรักษาอาการปวดศีรษะไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม(โดยเฉพาะชนิดปฐมภูมิ)ด้วยแพทย์แผนจีน สามารถเห็นผลในการรักษาได้ดี

***แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการปวดศีรษะมีสาเหตุการเกิดที่ค่อนข้างหลากหลาย ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบันก็ดี หรือทางแพทย์จีนก็ดี หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือในกลุ่มผู้ป่วยทุติยภูมิที่มีอาการปวดศีรษะรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ชัดเจนถึงสาเหตุการเกิด และได้รับการรักษาแบบผสมผสาน หรือในรูปแบบอื่นๆต่อไป***

 

บรรณานุกรม : 全国高等中医药行业高等教育 ‘十二五’ 规划教材 ;针灸学

IMG_53461500

บทความโดย พจ.ทวีชัย ตติยเพิ่มพูน

พระรามสอง 02-476-4600

วันพฤหัสบดี 10.00-18.00น.

พระรามสี่ 02-258-6100

วันพุธ , วันเสาร์ 10.00-21.00 น

เลียบทางด่วน-รามอินทรา 02-514-1990

วันอังคาร 09.00-17.00น.

วันศุกร์ 10.00-18.00น.

เผยแพร่โดย แมนดารินคลินิก

logo Mandarin