ตรุษจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , http://campus.sanook.com/945871/

งานตรุษจีน พ.ศ. 2548 บริเวณวงเวียนโอเดียนกรุงเทพมหานคร

ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน: Chúxī) หรือ “การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน” เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า “วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ

ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงอินโดนีเซียมาเก๊ามาเลเซียฟิลิปปินส์สิงคโปร์ไต้หวันไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม

ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม “โชคดี”, “ความสุข”, “ความมั่งคั่ง” และ “ชีวิตยืนยาว” ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ

วันที่

ปี วันที่ วันที่ วันที่
ปีชวด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 25 มกราคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 26 มกราคม พ.ศ. 2552 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ปีขาล 28 มกราคม พ.ศ. 2541 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ปีเถาะ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 22 มกราคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 23 มกราคม พ.ศ. 2555 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง 24 มกราคม พ.ศ. 2544 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 29 มกราคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 31 มกราคม พ.ศ. 2557 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569
ปีมะแม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570
ปีวอก 22 มกราคม พ.ศ. 2547 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 26 มกราคม พ.ศ. 2571
ปีระกา 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 28 มกราคม พ.ศ. 2560 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572
ปีจอ 29 มกราคม พ.ศ. 2549 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573
ปีกุน 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 23 มกราคม พ.ศ. 2574

ตรุษจีนในประเทศไทย

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว

  • วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
  • วันไหว้
    • ตอนเช้ามืดจะไหว้ “ป้ายเล่าเอี๊ย” (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้าน้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
    • ตอนสาย จะไหว้ “ป้ายแป๋บ้อ” (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษพ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
    • ตอนบ่าย จะไหว้ “ป้ายฮ่อเฮียตี๋” (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่งขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
  • วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ “ป้ายเจีย” เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า “กิก” (橘) ไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ 吉 แปลว่า โชคลาภ หรือ ภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษากวางตุ้ง ส้มเรียกว่า “ก้าม” (柑) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง (金) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล (เสมือนมี 吉 ประกอบกัน 4 ตัว กลายเป็น ?) ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

ประเพณีปฏิบัติ

  • สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

คำอวยพร

ในตรุษจีน ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่

  • 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ ซิงนี้หวกไช้; จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินนี่ฮวดไช้; จีนแคะ: ซินจึ้นหยู่อี๋ ซินเหนี่ยนฟั่ดโฉ่ย; กวางตุ้ง: ซันจิงจู๋จี่ ซันหนินฟัดฉ่อย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
  • 新年快樂 / 新年快乐 (จีนกลาง: ซินเหนียนไคว่เล่อ; กวางตุ้ง:ซันหนิ่นฟายหลอก;ฮกเกี้ยน: ซินนี้ก๊วยหลก) นิยมใช้ในประเทศจีน
  • 恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: หย่งฮี้ฮวดจ๋าย; กวางตุ้ง: กุงเฮยฟัดฉ่อย)
  • 過年好 / 过年好 (จีนกลาง: กั้วเหนียนห่าว) ใช้โดยชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศจีน วลีนี้ยังหมายถึงวันที่หนึ่งถึงวันที่ห้าของปีใหม่ด้วย
  • 大吉大利 (ฮกเกี้ยน: ตั่วเก็ตตั่วลี่) แปลว่า ความมงคลอันยิ่งใหญ่ ค้าขายได้กำไร
  • 金玉满堂 (ฮกเกี้ยน: กิ้มหยกมั่วต๋อง) แปลว่า ทองหยกเต็มบ้าน
  • 萬事如意 / 万事如意 (ฮกเกี้ยน: บ่านสู่หยู่อี่) แปลว่า หมื่นเรื่องสมปรารถนา
  • 福壽萬萬年/ 福寿万万年 (จีนกลาง: ฝูเชี่ยวหวันวันเลี่ยน; ฮกเกี้ยน: ฮกซิ่วบันบั่นนี่) แปลว่า อายุยืนหมื่นๆ ปี
  • 大家好運氣 / 大家好运气(จีนกลาง: ต้าจาห่าวเยียนชี; ฮกเกี้ยน: ต้าเก่โฮ่อุ๊นคิ) แปลว่า โชคดีเข้าบ้าน
  • 年年大賺錢 / 年年大赚钱 (ฮกเกี้ยน: หนีนี้ตั๊วถั่นจี๋) แปลว่า ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล

ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน

ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่

หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี

ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฏิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน

การแต่งกายและความสะอาด

ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผม เพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี

วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ

สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล

บุคคลแรกที่พบ

บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี

การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ

การเข้าห้องนอนผู้อื่นในวันตรุษจีน ถือเป็นโชคร้ายมาก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยหรือปกติ ก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก

ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษ

เพราะชาวจีนเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี

ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมา แต่ทุกคนก็ยังคงยึดถือและปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีนตระหนักดีว่า การปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อน เป็นการแสดงถึงความเป็นครอบครัวและเอกลักษณ์ของตน

อั่งเปา

สัญลักษณ์ที่ทุกคนทราบดีในวันตรุษจีนคือ อั่งเปาสีแดง โดยมีธรรมเนียมคือ ผู้ใหญ่ที่ผ่านการแต่งงานมาและทำงานมีรายได้แล้ว จะมอบซองสีแดง(ที่มีเงินจำนวนหนึ่งข้างใน) ให้กับเด็กๆที่มีอายุต่ำกว่า หรือยังไม่ได้ทำงาน พร้อมกล่าวสวัสดีปีใหม่ ซึ่งสีแดงของอั่งเปานั้นมีความหมายถึงโชคดี และเงินที่ใส่ในซองอั่งเปานั้น มักจะมีจำนวนเป็นเลขนำโชคของจีนนั่นคือเลข 8

15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน

วันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน

วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าวอาบ น้ำให้แก่มัน ด้วยเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิด

วันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน

วันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือน ของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่าย

วันที่หก ถึงสิบชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของ ครอบครัว และไปวัดไปวาสวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุข

วันที่เจ็ด ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด ของมนุษย์ในวันนี้อาหารจะเป็น หมี่ซั่วกินเพื่อชีวิตที่ยาวนานและปลาดิบเพื่อความสำเร็จ

วันที่แปด ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์

วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้

วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันของเพื่อนและญาติๆ ซึ่งควรเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน วันที่สิบสามถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย

วันที่สิบสี่ ความเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน