ไหล่ติด “肩周炎”

ไหล่ติด “肩周炎”                 ไหล่ติดแม้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นอาการป่วยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก อาทิเช่น การหยิบจับสิ่งของ การสวมใส่เสื้อผ้า อาบน้ำ รับประทานอาหารเป็นต้น เกิดจากการอักเสบ การหนาตัวและการหดรั้งของเนื้อเยื่อ เส้นเอ็นรอบหัวไหล่ อาจเกิดได้เองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากการประสบอุบัติเหตุ กระดูกหัก โรคกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มทำให้เกิดอาการไหล่ติด เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์ หัวใจ หลอดเลือดสมอง เป็นต้น มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้ทั้งในผู้สูงอายุและวัยรุ่นที่ใช้งานข้อไหล่มาก […]

ครอบแก้ว คืออะไร ?

ครอบแก้ว คืออะไร ? What is Cupping therapy? หลายท่านอาจจะยังมองว่าการครอบแก้วนั้นน่ากลัว จากการเห็นผ่านสื่อบางอย่างในIntetnet แต่แท้จริงแล้วการครอบแก้วนั้นไม่ได้น่ากลัวและอันตรายอย่างที่ท่านเห็น ครอบแก้ว (Cupping therapy) คือหนึ่งในศาสตร์การรักษาของแพทย์แผนจีนที่มีมายาวนานกว่าสองพันปี ซึ่งได้มีการบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งในสมัยโบราณจะใช้  “เขาสัตว์”, “กระบอกไม้ไผ่”, “โถดินเผา” จนพัฒนามาเป็น “แก้ว”และ“ตัวดูดสุญญากาศ” ที่ใช้ทำการรักษาในปัจจุบัน ปัจจุบันจะนิยมใช้เป็นแบบแก้วและตัวดูดสุญญากาศ เนื่องจากสามารถมองเห็นผิวหนังข้างในได้ วิธีการครอบแก้วมีด้วยกันหลายวิธี […]

ครอบแก้ว – Cupping

ครอบแก้ว – Cupping ครอบแก้ว คือ วิธีการรักษาวิธีการหนึ่งทางแพทย์แผนจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ การครอบแก้วนั้นจะเน้นการรักษาในกลุ่มอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นหลัก เช่น อาการปวดบริเวณหลัง ช่วงแขน ขา ไหล่ เป็นต้น โดยใช้ความร้อนจากไฟดูดอากาศภายในแก้วให้เป็นสุญญากาศ แล้วนำไปวางบนผิวหนังในตำแหน่งที่ต้องการ จนผิวหนังและกล้ามเนื้อถูกดูดเข้าไปในแก้ว อาจจะมีการใช้น้ำมันหรือวาสลีนทาที่ผิวหนังก่อนทำการครอบแก้ว เพื่อให้สามารถเคลื่อนแก้วได้ง่ายขึ้น

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ใน มุมมองแพทย์แผนจีน

“ออฟฟิศซินโดรม” เป็นอาการปวดไหล่บ่า ที่พบเจอได้บ่อยในยุคสมัยนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงาน ที่ส่วนใหญ่ต้องนั่งทำงานบนโต๊ะ ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร งานใช้คอมพิวเตอร์ หรือทํางานอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยท่าทางซํ้าๆ ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน เช่น การขับรถ การนั่งก้มใช้มือถือบ่อยๆ เป็นต้น ซึ่งงอิริยาบทที่เกิดจากการทำงานหรือสิ่งต่างๆ เหล่านนี้นั่นเองที่ส่งผลให้เกิดความปวดเมื่อยขึ้นมา และเมื่อระยะเวลานานเข้า ก็เกิดเป็นการปวดเมื่อยเรื้อรังในที่สุด