ฝังเข็มเพิ่มความหนาแน่นเส้นผม

รักษาผมร่วง เสริมและบำรุงโลหิตให้แก่หนังศีรษะ เพิ่มการเจริญงอกงามแก่เส้นผมป้องกันผมร่วงลดผมร่วง

     

 

   การรักษาด้วยการแพทย์แผนจีนแบ่งวิธีรักษาออกเป็นหลักใหญ่ๆสองอย่างคือ การรักษาจาก ภายใน และการรักษาจากภายนอก

      การรักษาจากภายใน มักใช้การรักษาด้วยการทานยาสมุนไพร โดยจะจ่ายยาตามกลุ่มอาการที่แพทย์วินิจฉัย และค่อยๆปรับเปลี่ยนตัวยา เมื่อมีอาการดีขึ้น หรืออาการของโรค เปลี่ยนแปลงไป

      การรักษาจากภายนอก ใช้การรักษาหลักๆด้วยการฝังเข็ม และเคาะเข็มดอกเหมย บริเวณหนังศีรษะ เป้าหมายเพื่อการกระตุ้นบริเวณหนังศีรษะให้เกิดการเจริญของผมโดยตรง และการฝังเข็มบริเวณส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อการปรับสมดุลของคนไข้ตามกลุ่มอาการ เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น

ปัจจัยภายในร่างกายต่างๆที่ส่งผลต่อสุขภาพเส้นผม และหนังศีรษะ ตามหลักการแพทย์แผนจีนแบ่งตาม กลุ่มอาการ

อันได้แก่

  1. กลุ่ม ชี่ และเลือดพร่อง

      สาเหตุ เกิดจากอาการตื่นเต้นมากไป หรือวิตกกังวลมากไป กระทบต่อการทำงานของม้าม หรืออารมณ์ หงุดหงิด โมโหติดกันเป็นเวลานาน ทำให้ชี่ตับติดขัด ตับและม้ามไม่สมดุลกัน เกิดอาการ ตับข่มม้าม โดยปกติในทางการแพทย์แผนจีน ปอดทำหน้าที่หลายอย่าง แต่มีหน้าที่หนึ่ง คือการรับสารน้ำจาก ม้ามและกระเพาะอาหารจากการทานอาหารในแต่ละวัน ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ส่วนม้ามทำหน้าที่ในการรับสารอาหารที่ย่อยมาจากกระเพาะลำเลียงไปส่งทั่วร่างกายเช่นกัน

      เมื่อการทำงานของม้ามพร่องลง หน้าที่การส่งสารน้ำ สารอาหารต่างๆไปยังปอด  และร่างกายจึงลดลงด้วยในทางแพทย์แผนจีนมองว่า ชี่และเลือดมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน เมื่อชี่พร่อง เลือดจึงพร่องด้วยเมื่อชี่ และเลือดพร่อง ชี่ และเลือดที่ไปเลี้ยงศีรษะไม่เพียงพอ ทำให้ผมไม่มีชี่ และเลือดมาบำรุง ผมจึงไม่แข็งแรง ขาด หลุดร่วงง่าย หรือบางครั้งทำให้ผมหงอกได้

  1. กลุ่ม ชี่ และสารน้ำจากไตไม่เพียงพอ

      ทางแพทย์จีน ไตทำหน้าที่กักเก็บชี่ที่พ่อแม่ให้มา มีมาโดยกำเนิด ผม ฟัน และกระดูก สัมพันธ์โดยตรงกับไต ตามหลักเบญจธาตุ โดยมีการศึกษาและค้นคว้าไว้ว่า ความสมบูรณ์ของไต สามารถดูได้จากเส้นผม เมื่อไตแข็งแรงสมบูรณ์ดี ผม ฟัน และกระดูกก็จะแข็งแรง แต่เมื่อไตพร่อง ผม ฟัน และกระดูกก็จะเปราะบาง

      สาเหตุที่ทำให้สารน้ำ หรือชี่ของไตพร่องลง ได้แก่ การได้รับชี่จากพ่อแม่มาไม่เพียงพอ ,อายุมากขึ้นร่างกายแก่ตัวลง ,การมีเพศสัมพันธ์ที่มากเกินไป หรือมีอาการเจ็บป่วยเป็นเวลานานแล้วกระทบถึงไต เป็นต้น

สาเหตุดังกล่าวส่งผลให้ ร่างกายผลิต ชี่ และเลือดได้ไม่เพียงพอในการสร้างและบำรุงเส้นผม ทำให้ผมมีลักษณะแห้งกระด้าง ผมขาดแหละหลุดร่วงง่าย

  1. กลุ่มของระบบเส้นเลือด และเส้นลมปราณไหลเวียนได้ไม่ดี

      โดยปกติเส้นเลือด และเส้นลมปราณมีหน้าที่ในการลำเลียง สารอาหารสารน้ำ ชี่ และเลือด ไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าหาก เส้นเลือดเส้นลมปราณเหล่านี้ติดขัด ไม่ว่าจะติดขัดจากการที่ร่างกายรับ ความชื้นเข้ามาจากภายนอก หรือติดขัดจากเลือดที่เกาะตัวเป็นลิ่มในร่างกายเราเอง ก็จะทำให้เลือดใหม่ๆ ชี่ และสารอาหารที่จะไปเลี้ยงศีรษะไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้ผมไม่ได้รับสารบำรุง จึงเป็นเหตุให้ผม  เสียสุขภาพ ขาดหลุดร่วง สีผมไม่สม่ำเสมอได้ เป็นต้น

ในทางการแพทย์แผนจีน ผมจะเกี่ยวพันกับอวัยวะภายในตามหลักเบญจธาตุอยู่หลักๆสามอวัยวะด้วยกัน คือ ตับ ม้าม และไต

ปัจจัยรองลงมาที่แพทย์แผนปัจจุบันได้กล่าวไว้ได้แก่

  1. การร่วงตามปกติ – โดยปกติแล้ว ผมคนเราจะมีวงจรชีวิต 2-6ปี เมื่อถึงอายุ ผมจะหยุดเจริญเติบโต และร่วงออกเองตามธรรมชาติ(ด้วยการ หวี แปรง สระ เช็ด) และในระหว่างนั้น จะมีผมใหม่ขึ้นแทนเสมอๆ *ในบางครั้งผมที่ร่วง > ผมที่งอกใหม่ : เป็นสัญญาณศีรษะล้าน
  2. ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น

     – ไทรอยด์ฮอร์โมนที่มากขึ้น หรือลดลง ทำให้ผมบางทั้งศีรษะ

      – การเพิ่มของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ทำให้ผมร่วงบริเวณศีรษะ และทำให้เกิดการเจริญของขน บริเวณใบหน้า และลำตัว ซึ่งอาจเกิดได้กับกลุ่มผู้ชาย และ ผู้หญิงที่มีซีสต์ที่รังไข่

      – การมีระดับฮอร์โมนอินซูลินที่ผิดปกติ เช่นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้ผมร่วงได้

  1. การอักเสบของหนังศีรษะ เช่น

      – ผื่นแพ้ผิวหนัง ,ผื่นจากต่อมไขมันอักเสบ ,สะเก็ดเงินที่หนังศีรษะ ,การติดเชื้อรา เช่น              กลากที่รูขุมขน ,ภูมิคุ้มกันต่อรากผม(ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ)

  1. การบาดเจ็บเฉพาะที่ หรือดึงรั้งมากไป เช่น การใช้ยางรัดผมจนแน่นเกินไป ,การใช้สารเคมีกับเส้นผมโดยตรง เช่น การดัด การย้อมผม ,แมลงบางชนิด เช่น เหา ทำให้ เกิดการระคายเคืองบริเวณหนังศีรษะ เมื่อเกามากๆแรงๆ หนังศีรษะอักเสบจึงทำให้ผมร่วง ,การถอนผมจนเป็นนิสัยทำให้ผมร่วงได้
  2. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยากันชัก ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคเก๊าท์ (จะสังเกตุได้จาก ช่วงเวลาที่เริ่มทานยาจะมีผมร่วง ส่วนมากมักเป็นเพียงชั่วคราว – ควรปรึกษาแพทย์ผู้จ่ายยาเพื่อปรับลด หรือเปลี่ยนตัวยา)
  3. ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ความเครียด กังวล ซึมเศร้า(*ปัจจัยนี้จะรักษาค่อนข้างยาก)เกิดจากบางครั้งผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่ามีความเครียด + ปัจจัยผมร่วงอื่นๆ = ผลทำให้ผมร่วง มากขึ้น (เนื้อหาส่วนนี้ยกสรุปมาจาก thaihaircenter.com)

 

      ข้อควรระวังสำหรับบุคคลผู้มีปัญหาผมร่วง

  1. ควรระมัดระวังเรื่องการทานอาหาร ไม่หวาน ไม่มัน หรือรสจัดเกินไป และควรทานอาหาร ที่ช่วยเสริมสร้างเคราติน รวมไปถึงการทานงาดำ ถั่วดำ ข้าวดำ พุทราจีน เป็นต้น
  2. ระมัดระวังเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ แต่งผมบำรุงผม หรือการใช้สารเคมีโดยตรงต่อผมและหนังศีรษะ ไม่ว่าจะเป็นการย้อมสีด้วยสีย้อมเคมี การยืดผม การดัดหรือม้วนผม
  3. ระมัดระวังด้านการควบคุมอารมณ์ ไม่เครียด ไม่กังวล ไม่ทำงานหนักจนเกินไป

Contact us , Map

12193726_1013126202041295_4571902088923103437_n

เสริมและบำรุงโลหิตให้แก่หนังศีรษะ เพิ่มการเจริญงอกงามแก่เส้นผมป้องกันผมร่วงลดผมร่วง
มียาสมุนไพรจีนเสรอมบำรุงเส้นผมรวมอยู่ในคอร์สค่ะ

สอบถามเพิ่มเติม
www.mandarin-clinic.com
Line : @mandarinclinic