การแพทย์แผนจีน หมายถึง การแพทย์แผนโบราณของชาวฮั่นซึ่งเป็น การแพทย์ที่มีประวัติการใช้ในการรักษาในชาว จีนยาวนานมากว่า 5,000 ปี และมีทฤษฏี สมบูรณ์ที่สุด โดยมีองค์ประกอบหลักคือ การ วินิจฉัยหรือการบอกโรค การ รักษาด้วยการ ฝังเข็ม การใช้ยาสมุนไพร การนวดทุยนา ชี่กง และอาหารที่เป็นยา

ประวัติ
การแพทย์แผนโบราณจีนกําเนิด ชนเผ่าที่อาศัยบริเวณแถบแม่น้ําเหลืองของจีน โดยมีการคิดค้นทฤษฏีและพัฒนาเพิ่มขึ้นในแต่ ละยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง จนเกิดแพทย์จีนที่มี ชื่อเสียงจํานวนมาก และเกิดสํานักแพทย์และ ตําราแพทยศาสตร์ที่สําคัญจํานวนมากมาย สมัยราชวงศ์อินซัง ประมาณ 3,000 กว่า ปีก่อน เริ่มมีบันทึกเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลและโรค 10 กว่าชนิด พอ ถึง ราชวงศ์โจว ก็เริ่มมีการใช้วิธีการตรวจวินิจฉัย 4 อย่างคือ ดู ฟัง ถามและแมะ โดยมีวิธีการ รักษา โรคแบบ ต่างๆ เช่น การจ่ายยา การ ฝังเข็มและการผ่าตัดเป็นต้น ในยุคส มัย ราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น ได้มีการประพันธ์ ตําราชื่อ”หวาง ตี้ เน่ย จิง ” (300 – 500 ปี ก่อน คศ.) ซึ่งถือเป็นตําราแพทย์แผนโบราณ จีนที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน นอกจากนี้ก็ยังมีการประพันธ์หนังสือเรื่อง

“ซางหัน จ๋าปิ้งลุ่น”(แปลว่า “ว่าด้วยโรคไข้ตัว ร้อนชนิดต่างๆ ”) โดยนายจาง จุ้งจิ่ง ซึ่งได้ บรรยายวิธีการวินิจฉัยและหลักการรักษาของ โรคชนิดต่างๆอันเป็นพื้นฐานให้กับการพัฒนา การแพทย์แผนจีน ต่อมาเมื่อถึงสมัยราชวงศ์ ฮั่นการศัลยกรรม ได้มีการพัฒนาไปม ากตาม บันทึกใน”ตํานานซานกั๋ว” หมอฮวา ถว๋อ เริ่ม ใช้ยายาสลบในคนไข้ชื่อ”หมา เฟ่ย ส่าน” ใน การผ่าตัดศัลยกรรมต่างๆ

ในระหว่างสมัยเว่ยจิ้นหนันเป่ยเฉา (ค.ศ.220-ค.ศ.589) จนถึงสมัยราชวงศ์สุย ถัง และอู่ไต้(ค.ศ.581-ค.ศ.960) การใช้วิธีการแมะ ร่วมในการวินิจฉัย ประสบผลสําเร็จอย่างมาก นายหวัง ซูเหอ นายแพทย์ในสมัยจิ้นได้เขียน ตําราชื่อ”ตําราว่าด้วยระบบเส้นโลหิต ” โดย สรุปจําแนกชีพจรเป็น 24 ลักษณะ หนังสือเล่ม นี้ไม่เพียงแต่มีความสําคัญต่อการพัฒนา แพทยศาสตร์ของจีนเท่านั้น หากยังได้เผยแพร่ ออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย ในสมัยนี้ การแพทย์แผนจีนได้พัฒนาเป็นสาขาเฉพาะทาง อย่างชัดเจนเช่น ด้านการฝังเข็มมี”ตําราฝังเข็ม” ด้านการกลั่นยาเม็ดอายุวัฒนะมี ”เป้าพูจื่อ ” และ”โจ่วโฮ่วฟาง” ในด้านการผลิตยาก็ มี”เหล ยกง เผ้าจิ่ว ลุ่น ” ด้านศัลยกรรมมีตําราชื่อ ” หลิวจวนจื่อกุ่ยอี๋ฟัง ” นอกจากนี้ ยังมีตําราที่ เขียนถึงด้านเหตุการเกิดโรคชนิดต่างๆเรื่อง ” ว่าด้วยเหตุผลของโรคชนิดต่างๆ ” และตํารา เรื่อง ”หลู หลู่ จิง”เป็นตําราด้านกุมารเวช วิทยา ตําราชื่อ “รวบรวมสมุนไพรฉบับใหม่”

เป็นหนังสือรวบรวมตํา รับยาฉบับแรกในโลก และยังมี”หยินไห่จริงเวย ”เป็นตําราจักษุ แพทย์ นอกจากนี้ ในสมัยราชวงศ์ถังยังมี ตํารา”เชียนจินเย่าฟาง ”ที่ประพันธ์โดยซุน ซือเหมี่ยวและ”ไหว้ไถมี่เย่า”ซึ่งเป็นตํารายาที่ ประพันธ์โดยนายหวัง เทาเป็นต้น

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960-ค.ศ. 1279) นายหวัง เหวยอีได้ประพันธ์”ถงเหรินห ยูวซ่วยเจินจิ่วถูจริง”ซึ่งเป็นตําราและภาพการ ฝังเข็มในตําแหน่งร่างกายด้วยหุ่ นทองแดง โดยเขาได้ออกแบบหุ่นจําลองทองแดง ขนาด เท่ากับตัวคนจริงเพื่อแสดงตําแหน่งต่างๆใน ร่าง กาย 2 ตัวเพื่อใช้ในการสอนวิชา ฝังเข็ม สิ่งนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนา วิชาการฝังเข็มในรุ่นหลัง ในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368- ค.ศ.1644 ) นักแพทยศาสตร์ จํานวนหนึ่งได้จําแนกผู้ป่ วยที่มีไข้สูงออกเป็น โรคไทฟอยด์(หรือที่หมอจีนเรียกว่าโรคเป็นไข้ ตัวร้อน ) โรคร้อนในและโรคห่าออกจากกัน จนถึงราชวงศ์ชิง วิทยาการโรคร้อนในได้มี ตํารา”ว่าด้วยโรคร้อนใน ”เกิดขึ้น ตั้งแต่สมัย ราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา การแพทย์ตะวันตกได้ แพร่หลาย เข้ามาใน ประเทศจีน นัก แพทยศาสตร์ ส่วนหนึ่งเสนอให้ ”ประสาน แพทย์แผนโบราณจีนกับแพทย์ตะวันตกเข้า ด้วยกัน” นับเป็นจุดเริ่มต้นของการประสาน แพทย์แผนโบราณจีนกับแพทย์ตะวันตกเข้า ด้วยกันในเวลาต่อมา

cr: วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก ปีที่6 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2556