นิ้วล็อค จนเป็นปัญหากวนใจ รักษาได้โดยการฝังเข็ม

      เกิดจาก การอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วบริเวณฝ่ามือตรงโคนนิ้ว เมื่อปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวจะเกิดการตีบแคบไปขัดขวางการเคลื่อนไหวชองเส้นเอ็นงอนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถยืดกลับคืนได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท – โรคนิ้วล็อคแต่กำเนิด ผู้ป่วยจะมีอาการช่วง 3 เดือน – 1 ปี จะเกิดที่นิ้วหัวแม่มือมากกว่านิ้วอื่น รักษาด้วย   การยืด ดัด ดาม – โรคนิ้วล็อคในผู้ใหญ่ มักพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุมาจากการกำมือ หรืองอนิ้วบ่อย มักเกิดกับ    มือข้างที่ถนัด นิ้วที่เป็นบ่อยคือนิ้วโป้ง นิ้วกลาง นิ้วนาง จะติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก โดยเฉพาะตอนเช้า    หลังตื่นนอนจะปวดมาก  แบ่งได้ 4 ระยะ  ระยะ 1     จะปวดโคนนิ้วมือ ถ้ากดบริเวณฐานนิ้วมือจะมีอาการปวดมากขึ้น แต่ไม่มีอาการสะดุด                   เวลาขยับนิ้ว  ระยะ 2     มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว เหยียดนิ้ว  ระยะ 3    […]

ปลอกหุ้มเส้นเอ็นอักเสบ (De Quervain’s Tenosynovitis)

  เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเส้นเอ็นที่ลอดผ่านปลอกเส้นเอ็น เป็นตำแหน่งที่รับน้ำหนัก และมีการเสียดสีมากกว่าบริเสณอื่น บริเวณที่เสียดสีมาก เยื่อหุ้มเอ็นจะหนาตัวขึ้น ทำใหช่องว่างปลอกเส้นเอ็นตีบลง เส้นเอ็นที่ลอดผ่านเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น อาการแสดง  พบการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) บริเวณเอ็นตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ อาการปวดอาจจะร้าวไปศอก หรืออาจมีอาการชา หรือบวม ด้านหลังนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ อาการปวดจะมากขึ้นเวลามีการเคลื่อนไหวของนิ้วโป้ง โดยเฉพาะเวลาหยิบจับสิ่งของที่มีการเคลื่อนไหวนิ้วโป้ง เช่น บิดผ้า กวาดพื้น อุ้มลูก เป็นต้น บุคคลที่มีกลุ่มเสี่ยง 1. กลุ่มคนทำงาน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน คนทำอาหาร งานช่าง ยกของหนัก 2. กลุ่มกิจกรรมที่ใช้ข้อมือมากๆ เช่น เล่นเวท ดนตรี อุ้มลูกนานๆ ถักไหมพรม ตอกตะปู บิดผ้า 3. ผู้ป่วยกลุ่มรูมาตอยด์ ไทรอยด์ เบาหวาน การตรวจว่าเป็นโรคนี้มั้ย 1. กดเจ็บบริเวณ first dorsal compartment 2.[…]

วันที่ฝนตกอากาศชื้น กับศาสตร์แพทย์จีน

ในช่วง กลางเดือนพฤษภา ถึง กลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงของฤดูฝนพอดิบพอดี อย่างที่รู้กันว่า ถ้าเราไปเผลอโดนน้ำฝนเข้าไปละก็ ได้เป็นหวัดแน่นอน แต่มุมมองทางแพทย์แผนจีนนั้น มองว่ายังไงกัน มาดูไปพร้อมกันเถอะ ฝนตก ถือว่าเป็น ปัจจัยก่อนโรคภายนอกประเภทความชื้น ซึ่งโดยทั่วไปความชื้นอย่างเดียว จะทำให้เกิดโรคได้น้อยมาก มักจะร่วมกับลมเย้นหรือร้อน จึงก่อนโรคได้ง่ายขึ้น การที่อยู่ในสภาวะชื้นแฉะ, แช่น้ำเป็นประจำ หรือตากฝนนั่นเอง  จะทำให้ความชื้นจากภายนอก เข้ามาแทรกแซงร่างกายเราได้ ความชื้นที่มีลักษณะ ข้นเหนียว ฝืด หนัก จะเข้าไปเกาะตามทางเดินลมปราณของเรา ทำให้การไหลเวียนเลือดติดขัด ทำให้เกิดอาการปวดตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะข้อตามร่างกาย แขนขาหนัก เคลื่อนไหวไม่สะดวก และยิ่งถ้าความชื้น จับกับความเย็น จะสามารถทำให้ร่างกายป่วยเป็นหวัด มีเสมหะเหนียวข้นขุ่นได้ ดังนั้นความชื้นที่มากับฝน ไม่ใช่เรื่องเล่นๆเลยนะคะ ยิ่งช่วงนี้ฝนตกบ่อยด้วย หมั่นดูแลสุขภาพกัน อย่าตากฝน หรือปล่อยให้ร่างกายปะทะปัจจัยก่อโรคพวกนี้ตรงๆได้ งั้นวันนี้ส่งท้ายด้วยวัตถุดิบ ที่เหมาะกับช่วงนี้ดีกว่า นั่นคือ เปลือกส้ม (陈皮) รสขม เผ็ด , ฤทธิ์อุ่น             เปลือกส้มที่นำมาทำเป็นชา หรือ[…]

คำถามยอดฮิตของอาการนอนไม่หลับ

 Q “ คนเราควรเข้านอนกี่โมง? ”  A   เราควรจะเตรียมตัวเข้านอน ตั้งแต่ก่อน 4 ทุ่ม เพราะอาการนอนไม่หลับของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หนึ่งในนั้น คือ การเข้านอนยาก ซึ่งแต่ละคนใช้เวลาในการเข้านอนไม่เท่ากัน การนอนอย่างมีคุณภาพ คือ หัวถึงหมอนปุ๊บ 5-15นาทีต้องหลับแล้ว   แล้วทำไมต้องเป็นเวลานี้? แพทย์จีนจะมีเวลานาทีทองของการนอนหลับ นั่นคือ 5ทุ่ม – ตี 3 ซึ่งเป็นเวลาของเส้นลมปราณตับและถุงน้ำดี     โดยตับมีหน้าที่เก็บสะสมเลือด และปรับปริมาณของเลือดให้คงที่ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว เลือดจากตับจะไปยังเส้นลมปราณต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกาย และเมื่อร่างการหยุดพักผ่อน เลือดจะไหลกลับมาสะสมที่ตับ ความผิดปกติของเลือดที่ตับ จึงมีอิทธิพลต่อการหล่อเลี้ยง และการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ดังนั้น ถ้าเรานอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพในเวลานี้ จะร่างกายก็จะได้รับการซ่อมแซมฟื้นฟูอย่างเต็มที่นั่นเอง คนที่นอนหลับไม่ดีจึงมีอาการอื่นตามมา เช่น ปัญหาที่ดวงตา เพราะตาต้องการเลือดจากตับมาหล่อเลี้ยง หรือง่วงนอน อ่อนเพลีย เวียนหัว ตาลาย เพราะร่างกายไม่ได้รับพลังชี่และเลือดอย่างเต็มที่ การปรับเวลานอน เป็นขั้นตอนแรกเริ่มสำคัญที่ช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับได้ พ.จ. ณัฐชญา กิจศิริสุนทร