ด้วยสถานการณ์ที่เชื้อ COVID-19 ระบาดหนักทั่วทั้งประเทศ การที่เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงถือเป็นอาวุธสำคัญในการเอาตัวรอดในปัจจุบัน

ดอกเก๊กฮวย / ดอกเบญจมาศ (菊花)  รสเผ็ด หวาน ขม , ฤทธิ์เย็นเล็กน้อย นำเก๊กฮวยมาต้มจิบอุ่นๆระหว่างวัน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ เพิ่มความสดชื่น โดยเก๊กฮวยมีสรรพคุณขับกระจายลมร้อน อันเป็นสาเหตุของการเกิดหวัด และขับร้อนระบายพิษ ที่ทำให้เกิดอาการไข้ ไอ ปวดศีรษะ นอกจากนี้ดอกเก๊กฮวยยังสามารถสงบพลังหยางของตับที่ส่งผลต่อดวงตา ทำให้เกิดตาบวมแดง มองไม่ชัดได้อีกด้วย

[…]

อาการท้องอืด ปัญหาน่ารำคาญอย่างนึง ที่พบบ่อยในผู้คนสมัยนี้

ซึ่งสาเหตุที่เลี่ยงไม่ได้ เกิดจาการกิน และความเครียด ท้องอืด เกิดจากสภาวะมีลม หรือ แก๊ส มากเกินไปในระบบย่อย จะรู้สึกปวดแน่นท่อนท้องส่วนบน ต้องเรอบ่อยๆ บางคนอาจมีพะอืดพะอม หรืออิ่มเร็ว ในทางแพทย์จีนมองว่า ว่าทำงานที่ไม่สมดุลของม้ามและกะเพาะอาหาร ทำให้เกิดภาวะของชี่ติดขัด จึงรู้สึกไม่สบายท้อง

[…]

ประจำเดือรมาไม่ปกติ ปัญหาของสาวๆที่พบได้บ่อย

สาวๆบางคน ต้องพบกับปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่าง “รอบเดือนผิดปกติ” ไม่ว่าจะหาหมอก็แล้ว หรือทานยาคุมก็แล้ว ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลองมาเช็คตัวเองดูกันค่ะ ว่ามีปัญหาเหล่านี้รึเปล่า รอบเดือนผิดปกติ หมายถึง ระยะเวลาของการมีรอบเดือนผิดปกติ รวมทั้งอาจมีปริมาณเลือด สี และลักษณะที่ผิดปกติร่วมด้วย  ทางแพทย์จีน จะแบ่งกลุ่มอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาวะความร้อนภายในร่างกาย ส่งผลให้ความร้อนสะสมที่มดลูก                  เป็นเหตุให้รอบเดือนมาเร็วกว่าปกติ สีสีแดงสดหรือคล้ำ ปริมาณมาก มีอาการหงุดหงิด กระหายน้ำร่วมด้วย ภาวะความเย็นตกค้างภายในร่างกาย หรือพลังชี่พร่องร่วมกับเลือดติดขัด                 เป็นเหตุให้รอบเดือนมาช้ากว่าปกติ สีคล้ำ ปริมาณน้อย มีอาการกลัวหนาว ชอบประคบอุ่นร่วมด้วย ภาวะชี่ตับติดขัด หรือชี่ไตพร่อง ส่งผลต่อการทำลายเส้ลมปราณที่สำคัญต่อการมีประจำเดือน                 เป็นเหตุให้รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มาช้าบ้าง มาเร็วบ้าง สีและปริมาณไม่แน่นอน มีอาการหน้าซีด อ่อนเพลียร่วมด้วย แน่นอนว่าขั้นตอนการรักษาของทางแพทย์แผนจีน คือการฝังเข็มและใช้สมุนไพรจีน เพื่อรักษาที่ต้นเหตุของโรค ตามกลุ่มอาการของคนไข้  นอกจากนี้ ยังมีการครอบแก้วเพื่อให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น และติดหมุดใบหูเพื่อปรับสมดุลร่างกาย โดยคนไข้แต่ละคนอาจจะได้รับขั้นตอนการรักษาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของแพทย์ตามสภาพร่างกายของคนไข้ ทั้งนี้[…]

ทำไมแพทย์จีน ถึงให้ระวัง “อากาศเย็น”

ความเย็น เป็น 1 ในการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรคได้ ลักษณะอาการที่เกิดจากความเย็น เช่น มีอาการเย็น หนาว หดเกร็ง แข็งตัว เป็นต้น ร่างกายจะได้ได้ความเย็นได้ทั้งจากภายนอกและภายใน โดย ลมเย็นๆ ถือเป็นความเย็นภายนอก ซึ่งเราพบเจอได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ แอร์ หรือพัดลม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่ลดลง จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ตำแหน่งแรกที่ความเย็นมากระทำคือ ผิวหนังของเรา ดังนั้นอาการที่ปรากฏ ได้แก่ ขนลุก หนาวสั่น กลัวความเย็น และเมื่อเวลาผ่านไป พลังลมปราณของเราจะออกมาต่อสู้ปกป้องร่างกายเรา ทำให้ปรากฏอาการ ตัวร้อน ไข้ขึ้นได้ แต่ถ้าความเย็นได้เข้าสู่ภายใน จะส่งผลให้เลือดลมไหลเวียนติดขัด หรือจับตัวเป็นก้อน ร่างกายจะแสดงออกมาเป็นอาการปวดเมื่อย และความสามารถทางร่างกายติดขัดบกพร่อง สังเกตได้ว่า ในคนที่เข้ามาทำหัตถการครอบแก้ว จะมีการแนะนำไม่ให้อาบน้ำหลังครอบแก้วไปประมาณ 3 ชม. พยายามอย่าให้หลังโดนความเย็นตรงๆ  หรือแม้กระทั่งการดื่มน้ำเย็นก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะรูขุมขนที่เปิดออกจะทำให้ป่วยได้ง่ายขึ้น  ดังนั้น คนที่ป่วยง่าย หรือเป็นภูมิแพ้อากาศ จึงความมีการเติมพลังหยาง ซึ่งเป็นพลังที่มีความอุ่นร้อนเข้าไปในร่างกาย เพื่อต่อสู้กับปัจจัยก่อโรคภายนอกเหล่านี้ Mandarin Clinic[…]

ไหล่ติด “肩周炎”

ไหล่ติด “肩周炎”                 ไหล่ติดแม้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นอาการป่วยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก อาทิเช่น การหยิบจับสิ่งของ การสวมใส่เสื้อผ้า อาบน้ำ รับประทานอาหารเป็นต้น สาเหตุ เกิดจากการอักเสบ การหนาตัวและการหดรั้งของเนื้อเยื่อ เส้นเอ็นรอบหัวไหล่ อาจเกิดได้เองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากการประสบอุบัติเหตุ กระดูกหัก โรคกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มทำให้เกิดอาการไหล่ติด เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์ หัวใจ หลอดเลือดสมอง เป็นต้น มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้ทั้งในผู้สูงอายุและวัยรุ่นที่ใช้งานข้อไหล่มาก อาการ มีอาการเจ็บหรือปวดบริวณหัวไหล่ ปวดมากตอนกลางคืน ข้อไหล่เคลื่อนไหวติดขัด ไม่ว่าจะเคลื่อนไหวเอง หรือจับให้เคลื่อนไหวโดยผู้อื่น ทำให้ยกแขน กางแขน หรือเอามือไขว้หลังได้ไม่สุด คนไข้ไม่กล้าเคลื่อนไหวหัวไหล่ หากไม่ได้รับการรักษานานวันเข้าจะยิ่งทำให้ข้อไหล่เคลื่อนไหวได้น้อยลงเรื่อยๆ จนถึงขยับไม่ได้ อาจพบกล้ามเนื้อลีบร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะปวด มีอาการปวดมาก พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เริ่มลดลง ในระยะนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 2-9 เดือน 2.ระยะข้อไหล่ติด อาการปวดลดลง ข้อไหล่จะติดมากขึ้นชัดเจนทุกทิศทาง ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ในระยะนี้นานแตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่[…]