อาการแสดง
 พบการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) บริเวณเอ็นตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ อาการปวดอาจจะร้าวไปศอก หรืออาจมีอาการชา หรือบวม ด้านหลังนิ้วโป้ง และนิ้วชี้ อาการปวดจะมากขึ้นเวลามีการเคลื่อนไหวของนิ้วโป้ง โดยเฉพาะเวลาหยิบจับสิ่งของที่มีการเคลื่อนไหวนิ้วโป้ง เช่น บิดผ้า กวาดพื้น อุ้มลูก เป็นต้น

บุคคลที่มีกลุ่มเสี่ยง
1. กลุ่มคนทำงาน เช่น ใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน คนทำอาหาร งานช่าง ยกของหนัก
2. กลุ่มกิจกรรมที่ใช้ข้อมือมากๆ เช่น เล่นเวท ดนตรี อุ้มลูกนานๆ ถักไหมพรม ตอกตะปู บิดผ้า
3. ผู้ป่วยกลุ่มรูมาตอยด์ ไทรอยด์ เบาหวาน

การตรวจว่าเป็นโรคนี้มั้ย
1. กดเจ็บบริเวณ first dorsal compartment
2. ตรวจโดยใช้ Finkelstein’s test ให้ผู้ป่วยกำนิ้วหัวแม่มือข้างที่ปวด และหักข้อมือลงด้านนิ้วก้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตรงบริเวณโคนนิ้วโป้ง

สาเหตุการเกิดในแพทย์แผนจีน
เหมือนนิ้วล็อค

การรักษา
1. ฝังเข็ม  กระตุ้นการไหลเวียนของลมปราณ และเลือด ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวจากการตึง ลดการอักเสบของเส้นเอ็น ลดบวม ระงับปวด โดยจะฝังบริเวณเส้นเอ็นที่บาดเจ็บ และกล้ามเนื้อมัดที่เกี่ยวข้อง
2. ครอบแก้ว ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และคลายกล้ามเนื้อ
3. กดจุดร่วมกับการบริหารมือ – กดจุด หยวีจี้ , เหอกู่  30 วินาที – 1 นาที

วิธีบริหาร 
– เอานิ้วโป้งงอ เข้าออก –
– ยืดข้อมือกระดกข้อมือขึ้นลง
– ออกกำลังกายข้อมือ โดยใช้ขวดน้ำกระดกข้อมือขึ้นลงหงาย คว่ำ  ด้านข้าง
– ใช้ยางยืด เพิ่มแรงต้าน
– กำลูกบอลนิ่มค้างไว้ 5 วินาที แล้วคลายออก
* แต่ละท่าจะทำท่าละ 10 ครั้ง 5 – 10 เซต

การดูแลรักษา
1. ลดกิจกรรมที่ต้องใช้งานข้อมือมากๆ เช่น ทำงานล้านหนักเกินไป
2. อย่ายกของหนักมากเกินไป หากต้องยกของหนักอาจแบ่งยกทีละน้อยๆ หรือใช้อุปกรณ์ทุ่นแรง
3. ประคบอุ่น
4. ถ้าเป็นไปได้ให้พักใช้งานข้อมือข้างที่ปวด ใช้อุปกรณ์พยุงข้อมือ

รักษากี่ครั้งถึงดีขึ้น
1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 5 – 10 ครั้ง
พ.จ. ภัทราภรณ์ ผดุงวัฒนะโชติ


เพิ่มเพื่อน