โรคนิ้วล็อก trigger finger

โรคนิ้วล็อก หรือที่บางคนเรียกว่า เอ็นนิ้วมือยึด หรือ นิ้วเหนี่ยวไกปืน เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาการแสดงอาจเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วในเวลาเดียวกัน  โรคนี้เป็นได้ทั้งเพศหญิงและชาย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ แต่มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 3-4เท่า อัตราการเกิดเฉลียร้อยละ 80 พบได้ในเพศหญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอาชีพแม่บ้าน หรืออาชีพที่ใช้มือทำงานหนักมีการใช้เม้าส์เยอะเกินไป หรือถือของหนักเป็นประจำ ในผู้ป่วยบางรายที่อาการมากอาจพิจารณารับรักษาด้วยการผ่าตัดเล็ก

นิ้วล็อค ฝังเข็ม

นิ้วล็อค ฝังเข็ม

กลไกการเกิดโรคนิ้วล็อกตามศาสตร์แพทย์จีน
กลไกการเกิดโรคนิ้วล็อกตามศาสตร์แพทย์จีนสังกัดอยู่ในการบาดเจ็บจากเส้นเอ็น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการใช้งานมากเกินไป มีสิ่งอุดกลั้นรบกวนการทำงานของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ หรือกระทบความเย็นจากภายนอกเป็นเวลานาน ทำให้พลังและเลือดติดขัด ไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นได้ทำให้สมดุลของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเสียสมดุลมีการตึงตัวผิดปกติจึงก่อเกิดโรคขึ้นมา แบ่งพิกัดโรคได้ 3 อย่างดังนี้  พิกัดกระทบความเย็นชื้น  พิกัดพลังและเลือดติดขัด  พิกัดตับและไตพร่อง

ฝังเข็ม นิ้วล็อค

ฝังเข็ม นิ้วล็อค

วิธีการรักษาโรคตามศาสตร์แพทย์จีน
1. การฝังเข็มตัว
               โดยทั่วไปแพทย์จะใช้การฝังเข็มในส่วนที่มีอาการปวด(จุดอาซื่อ) โดยใช้วิธีระบายเป็นหลัก และมีเพิ่มจุดฝังเข็มตามพิกัดโรค ดังนี้ พิกัดโรคหนาวชื้น เพิ่มจุดโจ่วเหลียว  โซ่วซานหลี่  ฉื่อเจ๋อ , พิกัดพลังและเลือดติดขัดเพิ่มจุด ฉื่อเจ๋อ เหอกู่ เสว่ไห่ , ส่วนพิกัดตับและไตพร่อง เพิ่มจุด กานซู เซิ่นซู ซานอินเจียว จู๋ซานหลี่


2. การใช้ยาจีน
            2.1 ยาต้มรับประทาน 黑木耳(เหยมู่เอ่อร์)30克,当归尾(ตังกุยเหว่)、姜半夏(เจียงปั้นเซี่ย)各10克,肉桂(โร่วกุ้ย)、佛手(ฝอโส่ว)、川牛膝(ชวนหนิวซี)、木瓜(มู่กวา)各6克,桂枝(กุ้ยจือ)10克 หรืออาจเพิ่มลดยาบางตัวตามดุลยพินิจของแพทย์
2.2 ยาใช้ภายนอก
生栀子(เซิงจือจึ)10克,生石膏(เซิงสือเกา)30克,桃仁(เถาเหริน)10克,红花(หงฮวา)12克,土鳖虫(ถู่เปี๋ยฉง)6克,骨碎补(กู่ซุ่ยปู่)8克 นำยามาบดละเอียดผสมกับแอลกอฮอลล์ 75% เวลาใช้นำยาเทลงบนผ้าก๊อซแล้วนำไปแปะไว้บริเวณที่ต้องการเพื่อให้ตัวยาซึมเข้าสู่ผิวหนังและออกฤทธิ์บริการที่ต้องการได้โดยตรง


3.การครอบแก้ว
              แพทย์ใช้แก้วขนาดเล็กครอบบริเวณด้านในแขนโดยใช้วิธีเดินแก้วไปตามเส้นลมปราณอินก่อนเพื่อเป็นการผ่อนคลายการตึงของกล้ามเนื้อเส้นเอ็นบริเวณแขนและฝ่ามือ  จากนั้นจึงคาแก้วไว้ตามจุดฝังเข็มบนเส้นลมปราณอินและสามารถคาแก้วบริเวณฝ่ามือ
4.การฝังเข็มหู
ใช้จุดเซิ่นซู  กานซู  หวนเที่ยว  เว่ยจง
5.การออกกำลังกาย
– ควรหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วและมืออย่างหนัก ระมัดระวังการใช้งานของนิ้วมืออย่างถูกสุขลักษณะหากหิ้วของ ควรใช้ทั้งมือหิ้วไม่ใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่ง หลีกเลี่ยงท่ากำมือหรืองอนิ้วมือเป็นเวลานานๆ เพื่อช่วยลดอาการบาดเจ็บของปลอกหุ้มเอ็น
– แนะนำให้แช่มือในน้ำอุ่นวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ15-20 นาที โดยสามารถใส่สมุนไพรเพื่อทะลวงเส้นลมปราณและกระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิต ในขณะแช่มือสามารถนวดนิ้วมือบริเวณที่มีอาการด้วยแต่ควรทำด้วยแรงเบาๆเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น
– บริหารนิ้วมือเป็นประจำทุกวัน ครั้งละ15-20 นาที โดยหาลูกบอลเล็กหรือขวดใบเล็กใส่น้ำอุ่นมาใช้ในการบริหารมือ โดยกำมือและแบมือสลับกันไปมาประมาณ 5 นาที  จากนั้นประกบมือและนิ้วมือให้สนิทกันหลังจากนั้นแอ่นนิ้วผลักต้านกันเป็นจังหวะประมาณ 5 นาที  กำมือให้แน่นแล้วค่อยๆแบออกสลับกันไปมาประมาณ 5 นาที  วางนิ้วมือให้ราบไปกับโต๊ะหรือพื้นราบแล้วแอ่นนิ้วสลับกันการผ่อนนิ้วประมาณ 5 นาที
6.การใช้โภชนาบำบัด
ทานผักและผลไม้มากๆ โดยเฉพาะผักขึ้นฉ่าย ผักกวางตุ้งฮ่องเต้  ผักกวางตุ้ง มะเขือเทศ  ส้ม กล้วยหอม  องุ่น  สาลี่  เกาลัดและอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนและแคลเซียม เช่น ไข่ น้ำเต้าหู้ เป็นต้นรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน บี  ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

 

บทความโดย พจ.ปีติชา อะมริต

สงวนลิขสิทธิ์บทความโดยแมนดารินคลินิก อนุญาติให้แชร์และเผยแพร่ภายใต้ชื่อแมนดารินคลินิก ไม่อณุญาตให้ทำซ้ำ เลียนแบบ นำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ